กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เร่งช่วย 230 ลูกจ้าง บริษัท นิตพอยน์ จ.นครปฐม
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เร่งช่วย 230 ลูกจ้าง บริษัท นิตพอยน์ จ.นครปฐม ถูกลอยแพหลังนายจ้างปิดกิจการ ยันสั่งติดตามค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชยโดยเร็ว พร้อมแจ้งสิทธิรับเงินกองทุนสงเคราะห์ ประสานหางาน ฝึกอาชีพ ดูแลสิทธิผู้ประกันตนประกันสังคม
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงกรณีบริษัท นิตพอยน์ จำกัด จังหวัดนครปฐม ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 96 หมู่ที่ 3 ตำบลถนนขาด อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ประกอบกิจการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ปิดกิจการและลอยแพลูกจ้าง 230 คน ว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครปฐม ดำเนินการให้การช่วยเหลือในการติดตามค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยแก่ลูกจ้างแล้วตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยลูกจ้างจำนวน 182 คนได้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครปฐมไว้แล้วพร้อมแต่งตั้งผู้แทนลูกจ้างจำนวน 4 คนเพื่อให้ข้อเท็จจริงในเรื่องนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้าง ทั้งนี้ พนักงานตรวจแรงงานได้ชี้แจงข้อกฎหมายและขั้นตอนการดำเนินการ และการยื่นคำร้อง ตลอดจนชี้แจงสิทธิ การขอรับเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ลูกจ้างด้วย อย่างไรก็ตาม กสร. จะเร่งประสานให้ลูกจ้างที่เหลือมายื่นคำร้องให้ครบถ้วน และได้สั่งการให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครปฐม ติดตามให้ความช่วยเหลือลูกจ้างอย่างใกล้ชิด และเร่งดำเนินการเพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายโดยเร็ว
นายอภิญญา กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกจ้างในระยะยาว กสร.ได้ประสานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานได้แก่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครปฐม สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครปฐม และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นครปฐม ในการชี้แจงสิทธิของลูกจ้าง ทั้งในเรื่องของการหาตำแหน่งงานว่าง การฝึกอาชีพ การดูแลสิทธิในฐานะผู้ประกันตนเพื่อดำเนินการจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานอีกด้วย
ประเดิมงบปี’63 เปิดอบรม “กฎหมายแรงงานที่นายจ้าง-ลูกจ้างต้องรู้” หลักสูตรยอดฮิต
ประเดิมหลักสูตรแรกของปีงบประมาณ 2563 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดอบรม “กฎหมายแรงงานที่นายจ้าง-ลูกจ้างต้องรู้” อบรมฟรี ไม่มีค่าลงทะเบียน เริ่มรับสมัครออนไลน์ 11 พฤศจิกายน 2562 นี้ หวังให้นายจ้างลูกจ้างปฏิบัติต่อกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อสร้างความสุขร่วมกัน
นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า การพัฒนาทรัพยากรแรงงาน โดยการส่งเสริมสนับสนุนสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้เกิดทักษะในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ถือเป็นภารกิจที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินการมาเป็นประจำทุกปี คือการให้บริการวิชาการ จัดอบรมให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ กสร. ประเดิมเปิดหลักสูตรแรกของปีคือ หลักสูตร “กฎหมายแรงงานที่นายจ้าง-ลูกจ้างต้องรู้” ซึ่งจะจัดอบรมในระหว่างวันที่ 27 – 29 พฤศจิกายน 2562 ทั้งนี้ หลักสูตรดังกล่าวถือเป็นหลักสูตรยอดนิยมซึ่งในปีที่ผ่าน ๆ มา มีผู้ให้ความสนใจสมัครเข้าอบรมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหลักสูตรดังกล่าวทำให้ทราบถึงสิทธิ หน้าที่ตามกฎหมายแรงงานของนายจ้างและลูกจ้างที่พึงปฏิบัติต่อกันและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยใช้เวลาในการอบรม 18 ชั่วโมง หรือ 3 วันทำการ และจะเปิดรับสมัครจำนวน 70 คน ตั้งแต่วันที่ 11 - 15 พฤศจิกายน 2562 หรือจนกว่าจะมีผู้สมัครเต็มอัตรา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สมัครออนไลน์ ได้ที่ http://tls.labour.go.th เมนูหลัก: ฝึกอบรมทรัพยากรแรงงาน
นายอภิญญา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กสร. ได้เตรียมเปิดหลักสูตรฝึกอบรมอื่น ๆ ให้แก่นายจ้าง ลูกจ้างอีกมากมาย โดยสามารถติดตามรายละเอียดและความเคลื่อนไหวของหลักสูตรอื่นๆ ที่จะเปิดรับสมัครในปีงบประมาณ 2563 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรแรงงาน สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 1371-2 หรือเว็บไซต์ http://tls.labour.go.th เมนูหลัก: ฝึกอบรมทรัพยากรแรงงาน
‘หม่อมเต่า’ มอบการบ้าน 3 เรื่องเร่งด่วน 10 นโยบายสำคัญ ขับเคลื่อนภารกิจแรงงานปี 63
ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใด ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เช่น ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย เงินประกัน หรืออื่นใดที่เป็นตัวเเงิน และลูกจ้างมีความประสงค์จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ลูกจ้างยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดหรือท้องที่ลูกจ้างทำงานอยู่ หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------